5. ฟังก์ชั่นภายในของไพธอน ด้านวิทยาการข้อมูล (Python Built-in Functions for Data Science)
วันนี้ จะขอกล่าวถึง ฟังก์ชั่นภายในของไพธอน ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการข้อมูล ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจบ้าง ไม่มากก็น้อย
ฟังก์ชั่นภายในของไพธอน ด้านวิทยาการข้อมูล ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ คือ
1. ฟังก์ชั่น print( ) ใช้แสดงข้อความบนจอภาพ หรือ เอท์พุตมาตรฐาน อื่น ๆ
ข้อความที่ต้องการพิมพ์อาจเป็นสตริงหรือตัวแปรชนิดอื่นๆ ฟังก์ชันนี้จะแปลงตัวแปรเหล่านั้นเป็นสตริงก่อนที่จะเขียนลงบนหน้าจอ
ตัวอย่างที่ 1: แสดงข้อความบนจอภาพ
print("ฟังก์ชันในตัวของ Python สำหรับ Data Science")
Output:
ตัวอย่างที่ 2: เป็นการแสดงผลมากกว่า 1 ค่า
print("Python", "Internal", "Function")
Output:
2. ฟังก์ชั่น type( ) เป็นการส่งคืนค่า ซึ่งเป็นชนิดของข้อมูลนั้น ๆ
ตัวอย่างที่ 1: ส่งคืนค่า ชนิดของข้อมูลที่กำหนด
list_of_fruits = ('apple', 'banana', 'cherry', 'mango')
print(type(list_of_fruits))
Output:
ตัวอย่างที่ 2: ส่งคืนค่า ชนิดของข้อมูลจากตัวแปรต่าง ๆ
variable_1 = "Analytics"
variable_2 = 105
print(type(variable_1))
print(type(variable_2))
Output:
3. ฟังก์ชั่น input( ) เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้ในการรอรับข้อมูลจากผู้ใช้
ตัวอย่างที่ 1: นำผลจากการรอรับข้อมูล ไปใช้ในการแสดงผล
a = input('Enter your name:')
print('Welcome, ' + a + ' to Python')
Output:
4.ฟังก์ชั่น abs( ) เป็นการส่งคืนค่าสัมบูรณ์ของตัวเลข
ตัวอย่างที่ 1: ส่งคืนค่าสัมบูรณ์ของตัวเลข
negative_number = -676
print(abs(negative_number))
ตัวอย่างที่ 2: ส่งคืนค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อน
complex_number = 3+5j
print(abs(complex_number))
Output:
5. ฟังก์ชั่น pow() หากใช้ฟังก์ชั่นนี้ ในรูปแบบ pow(x,y) เป็นการส่งคืนค่าผลลพัธ์ของ x ยกกำลัง y แต่หากมีการใช้ พรารามิเตอร์ 3 ค่า ในวงเล็บ ในรูปแบบ pow(x,y,z) จะเป็นการส่งคืนค่าเศษเหลือจากการหารจำนวน x ยกกำลัง y ด้วย z
ตัวอย่างที่ 1: หาค่า x ยกกำลัง y
x = pow(3, 4)
print(x)
ตัวอย่างที่ 2: ส่งคืนค่าเซษเหลือจากการหาร 3 ยกกำลัง 4 ด้วย 5 (เช่นเดียวกับ x = (3 * 3 * 3 * 3) % 5)
x = pow(3, 4, 5)
print(x)
Output:
6. ฟังก์ชั่น dir( ) เป็นการส่งคืคค่า properties และ methods ของวัตถุนั้น โดยไม่แสดงค่า ซึ่งใช้ได้ทั้ง properties ภายใน และ properties ที่ผู้ใช้สร้างขึ้น
ตัวอย่าง : แสดงรายละเอียดของ object ที่สร้างขึ้น
class Person:
name = "Python"
age = 309
country = "Th"
education = "ITs"
print(dir(Person))
Output:
7. ฟังก์ชั่น sorted( ) เป็นการส่งคืนผลการจัดเรียงสมาชิกของ List จากเดิมซึ่งไม่มีการจัดเรียง และกำหนดได้ว่าจะให้จัดเรียงจากมากไปน้อย หรือ จากน้อยไปมาก ตามระบบตัวอักขระ และ ระบบตัวเลข
หมายเหตุ: จะไมาสามารถจัดเรียนได้ หากมีข้อมูลที่เป็นสตริง และ ตัวเลข อยู่ในที่เดียวกัน
เช่น t2=(1,12,6,3,"c","d")
ตัวอย่างที่ 1: การจัดเรียงข้อมูลสมาชิก แบบเรียงจากน้อยไปมาก
tuple = ("h", "b", "1", "c", "5", "d", "e", "g")
print(sorted(tuple))
ตัวอย่างที่ 2: การจัดเรียงข้อมูลสมาชิก แบบเรียงจากมากไปน้อย
tuple = ("h", "b", "1", "c", "5", "d", "e", "g")
print(sorted(tuple, reverse=True))
Output:
8. ฟังก์ชั่น max( ) เป็นการส่งคืนสตริงที่มีความยาวมากที่สุด หรือ ส่งคืนค่าตัวเลขซึ่งมีค่ามากที่สุด
ตัวอย่างที่ 1: หาข้อความซึ่งยาวที่สุด
names_tuple = ('Chirag', 'Kshitiz', 'Dinesh', 'Kartik')
print(max(names_tuple))
ตัวอย่างที่ 2: คืนค่าตัวเลขซึ่งมีค่ามากที่สุด
number_tuple = (2785, 545, -987, 1239, 453)
print(max(number_tuple))
Output:
9. ฟังก์ชั่น round( ) เป็นคำสั่งในการปัดเศษเลขทศนิยมให้เป็นเลขจำนวนเต็ม ภายใต้เงื่อนไข เลขทศนิยม เกิน 5 ปัดขึ้น น้อยกว่า จะปัดลง
หมายเหตุ หากเรียกใช้ฟังก์ชั่น round โดยมีพารามิเตอร์ค่าเดียว จะเป็นการปัดเลขนั้น ๆเป็นเลขจำนวนเต็ม แต่หากมีพารามิเตอร์ 2 จำนวน โดยคั่นด้วยจุลภาค (,) แล้วตามด้วยตัวเลขที่ต้องการให้จำนวนทศนิยมปรากฏหลังจุดทศนิยม เช่น round(87.7432,1) ให้ทำการปัดเศษของค่าตัวเลข 87.7432 ให้เป็นเลขที่มีจำนวนตัวเลขหลังจุดทศนิยมเพียง 1 ตัว
ตัวอย่างที่ 1: การปัดค่าตัวเลข
nearest_number = round(87.7432)
print(nearest_number)
nearest_number = round(87.7432,1)
print(nearest_number)
nearest_number = round(87.7532,1)
print(nearest_number)
Output:
10. ฟังก์ชั่น divmod( ) เป็นการส่งคืนค่าเลขจำนวนเต็มซึ่งเป็นผลจากการหาร ตัวเลขค่าแรก ด้วย ค่าที่สอง และส่งคืนค่าเศษเหลือจากการหารนั้น ในรูปแบบ Tuple
ตัวอย่างที่ 1: เป็นการส่งคืนค่าผลลัพธ์จากการหาร 7 ด้วย 3 (7/3 = 2 เศษ 1)
x = divmod(7, 3)
print(x)
ตัวอย่างที่ 2: เป็นการส่งคืนค่าผลลัพธ์จากการหาร 72 ด้วย 6 (72/6 = 12 เศษ 0)
x = divmod(72, 6)
print(x)
Output:
11. ฟังก์ชั่น ord( ) เป็นฟังก์ชั่นในการส่งคืนค่าตัวเลขที่เป็นลำดับตัวอักขระ ทั้ง ASCII และ Unicode
ตัวอย่างที่ 1: เป็นการส่งคืนค่าตัวเลขลำดับตัวอักขระในระบบ Unicode
x = ord("h")
print(x)
x = ord("ก")
print(x)
x = ord("ฮ")
print(x)
Output:
12. ฟังก์ชั่น len( ) เป็นการส่งคืนค่าจำนวนสมาชิกในวัตถุนั้น ๆ แต่ถ้าวันถุนั้น เป็นตัวแปรประเภทสตริง จะเป็นการส่งคืนจำนวนตัวอักขระในตัวแปรนั้น
ตัวอย่างที่ 1: เป็นการคืนค่าจำนวนสมาชิกในลิสต์
fruit_list = ["apple", "banana", "cherry", "mango", "pear"]
print(len(fruit_list))
a = (1, 2, 'a', 'b')
print(len(a))
a = "plakemphet"
print(len(a))
Output:
13. ฟังก์ชั่น sum( ) เป็นการหาผลรวมของค่าตัวเลขสมาชิกทุกตัว โดยสมาชิกทุกตัว
ตัวอย่างที่ 1: เป็นการหาค่าผมรวมของตัวเลขในลิสต์ แล้วบวกเพิ่มอีก 7
a = (1, 2, 3, 4, 5)
print(sum(a, 7))
ตัวอย่างที่ 2: การหาค่าผลรวมของค่าตัวเลขของสมาชิกในลิสต์ทั้งหมด
list = [1, 2, 3, 4, 5]
print(sum(list))
Output:
14. ฟังก์ชั่น help( ) มีไว้ใช้เพื่อแสดงรายละเอียด หรือ คำอธิบาย ของ modules, functions, classes, keywords และ อื่น ๆ โดยระบุคำเหล่านั้นไว้ ภายในวงเล็บ
Example 1: ขอดูคำอธิบายฟังก์ชั่น print
help(print)
Output:
Example 2: ขอดูคำอธิบายฟังก์ชั่น sum
help(sum)
Output: