15. Wio Terminal EP.02 , ตัวอย่างการแสดงผล#01


Wio Terminal EP.02, คำสั่งในการแสดงผลอย่างง่าย

การเขียนโค้ด การใช้งาน Wio Terminal ด้วย circiutPython ผ่านทาง Mu Editor เมื่อมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงโค้ด ให้กด Save เพื่อจะดูผลบน Wio หาก Save ไม่ได้ จะต้องปิดสวิตช์ และเปิดใหม่ทุกครั้ง จึงทำการ Save เพื่อดูผลจากการทำงาน ระวัง ! อย่าเปิดสวิตช์ แล้วดับเบิ้ลคลิก เพราะหากทำไปแล้ว ทเ่ากับเป็นการ รีเซ็ตระบบของ Wio จะต้องย้อนกลับไป ทำการคัดลอกไฟล์ .UF2 ไปวางในไดรฟ์อีกครั้ง สังเกตจากใน windows Explorer จะเป็นชื่อไดรฟ์ Arduino(D:) หากจะใช้ circuitPython ชื่อไดรฟ์จะต้องเป็น ARDUPY(D:)

โค้ดแรกของฉัน
เพื่อเป็นการทดลอง แสดงข้อความและการกำหนดสีตัวอักษรและสีพื้นแบบง่าย ๆ
1. เสียบสาย USB type-C เข้ากับตัวเครื่อง Wio Terminal
2. เลื่อนสวิตช์ เปิด (ตำแหน่งสวิตช์จะเลื่อนไปอยู่ตรงกลาง)
3. เปิดแอพพลิเคชั่น Mu และเลือก Mode เป็น circuitPython


รูปที่ 1 การเลือก Mode ในแอพพลิเคชั่น Mu

4. เลือกเมนู Load เพื่อเปิดไฟล์ชื่อ main.py จากในเครื่อง Wio ขึ้นมาทำการแก้ไข
5. เมื่อแก้ไขเสร็จ ให้ปิดสวิตช์ที่ตัว Wio แล้วเปิดใหม่ จากนั้น เลือกเมนู Save เพื่อส่งโค้ดเข้าไปใน Wio และทำงานตามที่เขียนไว้ทันที หาก Save แล้ว หน้าจอ Wio ยังมืด ไม่มีข้อความใด ๆ แสดงว่า โค้ดที่เขียน มีจุดผิดพลาด ให้ทำการแก้ไข แล้วกด Save แต่หาก Save ไม่ได้ ให้ปิดสวิตช์ที่ตัว Wio แล้วเปิดใหม่ แล้วกด Save ทำเช่นนี้ทุกครั้งที่แก้ไขโค้ด


 เขียนโค้ด ดังต่อไปนี้ โค้ดที่ใช้ทดสอบนี้ 

from machine import LCD, Map, Pin
import sys
import time

# Create LCD object
lcd = LCD()
  
lcd.setTextSize(4)

lcd.setTextColor(0x0000, 0x0000)
lcd.drawString("Hi", 10, 10)
lcd.setTextColor(0x4400, 0x4400)
lcd.drawString("Hi", 60, 10)
lcd.setTextColor(0x8800, 0x8800)
lcd.drawString("Hi", 110, 10)
lcd.setTextColor(0xAA00, 0xAA00)
lcd.drawString("Hi", 160, 10)
lcd.setTextColor(0x0C00, 0x0C00)
lcd.drawString("Hi", 210, 10)
lcd.setTextColor(0xCF00, 0xCF00)
lcd.drawString("Hi", 260, 10)

lcd.setTextColor(0x0000, 0x00)
lcd.drawString("Hi", 10, 50)
lcd.setTextColor(0x0044, 0x4400)
lcd.drawString("Hi", 60, 50)
lcd.setTextColor(0x0088, 0x8800)
lcd.drawString("Hi", 110, 50)
lcd.setTextColor(0x00AA, 0xAA00)
lcd.drawString("Hi", 160, 50)
lcd.setTextColor(0x000C, 0x0C00)
lcd.drawString("Hi", 210, 50)
lcd.setTextColor(0x00CF, 0x0000)
lcd.drawString("Hi", 260, 50)

lcd.setTextColor(0x00FF, 0x4000)
lcd.drawString("Hi", 10, 90)
lcd.setTextColor(0x00CF, 0x4400)
lcd.drawString("Hi", 60, 90)
lcd.setTextColor(0x00AF, 0x4F00)
lcd.drawString("Hi", 110, 90)
lcd.setTextColor(0xA000, 0x1000)
lcd.drawString("Hi", 160, 90)
lcd.setTextColor(0x008F, 0xC000)
lcd.drawString("Hi", 210, 90)
lcd.setTextColor(0x004F, 0xCC00)
lcd.drawString("Hi", 260, 90)

อย่าลืม!! เมื่อแก้ไขเสร็จ ให้ปิดสวิตช์ที่ตัว Wio แล้วเปิดใหม่ จากนั้น เลือกเมนู Save เพื่อส่งโค้ดเข้าไปใน Wio และทำงานตามที่เขียนไว้ทันที


 คำอธิบายโค้ด

lcd = LCD() เป็นการเรียนใช้คลาส LCD()
lcd.setTextSize(4) เป็นการกำหนดตัวอักษร โดยมีค่าจาก 1 - 6
lcd.setTextColor(0x0000, 0x0000) เป็นการกำหนดสีตัวอักษรและสีพื้น โดยค่าแรก เป็นสีตัวอักษร ค่าที่สอง เป็นสีพื้น
lcd.drawString("Hi", 10, 50) เป็นคำสั่งให้แสดงข้อความที่อยู่ในเครื่องหมาย " " โดยให้เริ่มแสดงผลที่พิกัด X =10 Y = 50 โดยจอแสดงผลมีความละเอียด 320 x 240 คือ ค่า X จะมีค่าจาก 0 ถึง 319 และค่า Y จะมีค่าจาก 0 ถึง 239

ผลที่ได้จากการทำงาน


รูปที่ 2 ผลจากการทำงานของคำสั่ง


 





โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

14. Wio Terminal EP.01 , เริ่มตันกับ Wio Terminal ด้วย circuitPython

28. Wio Terminal GPS

24. Wio Terminal EP.11, อนาล็อกมิเตอร์ วัดความสว่างของแสง