13. การใช้ฟังก์ชั่น find() ในการค้นหาข้อความย่อย ภายในข้อความที่กำหนด



ฟังก์ชั่น find() เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับค้นหาข้อความย่อย ในข้อความที่กำหนด ซึ่งผลการค้นหาจะส่งกลับออกมาในรูปของตัวเลขดัชนีตัวแรกที่พบ หากค้นไม่พบ จะคืนค่าเป็น -1

รูปแบบประโยคคำสั่ง

Given_string.find(Sub_string, Begin_index, End_index)

โดย
Given_string: คือข้อความเริ่มต้นที่จะใช้ในการค้นหา
Sub_string: คือ ข้อความที่ต้องการค้นหา คำนึงถึงตัวอักษรพิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่
Begin_index: คือ ตัวเลขดัชนีเริ่มต้น ที่ต้องการใช้ในการค้นหา ซึ่งหากไม่ระบุ ก็จะเริ่มต้นที่ 0
End_index: คือ ตัวเลขดัชนีสุดท้าย ที่ต้องการใช้ในการค้นหา ซึ่งหากไม่ระบุ ก็จะเป็นตัวเลขดัชนีที่มีค่าสูงสุดของข้อความเริ่มต้น

ตัวอย่างคำสั่ง


in_str = "Detect source language automatically"
find_str = = 'source'


ret_index = in_str.find(find_str)
print (f"The input string: {in_str}") #เป็นการเรียกใช้ฟังก์ชั่น F-Strings
print(f"The position of '{find_str' substring is: ",ret_index)


ผลที่ได้


The input string: Detect source language automatically
The position of 'source' substring is: 12


หมายเหตุ:
F-strings เป็นวิธีการใหม่ในการจัดการสตริงใน Python เป็นไปตามข้อกำหนดการออกแบบ PEP 498 ในการสร้าง f-string คุณต้องนำหน้าด้วยตัวอักษร 'f' จุดประสงค์หลักคือการทำให้การแทนที่สตริงง่ายขึ้น
รูปแบบ
name = 'plakemphet'
experience = 40


result = f'My title is {name} and my exp is {experience}'
print(result)
หรือ
print (f'My title is {name} and my exp is {experience}')




ผลที่ได้ คือ My title is plakemphet and my exp is 40

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

14. Wio Terminal EP.01 , เริ่มตันกับ Wio Terminal ด้วย circuitPython

28. Wio Terminal GPS

24. Wio Terminal EP.11, อนาล็อกมิเตอร์ วัดความสว่างของแสง